การสำรวจระยะไกล (REMOTE SENSING)
เป็นการสำรวจจากระยะไกล โดยเครื่องมือวัดไม่มีการสัมผัสกับสิ่งที่ต้องการตรวจวัดโดยตรง กระทำการสำรวจโดยให้เครื่องวัดอยู่ห่างจากสิ่งที่ต้องการตรวจวัด โดยอาจติดตั้งเครื่องวัดเช่น กล้องถ่ายภาพ ไว้ยังที่สูง บนบอลลูน บนเครื่องบิน ยาวอวกาศ หรือดาวเทียม แล้วอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ หรือสะท้อนมาจากสิ่งที่ต้องการสำรวจเป็นสื่อในการวัด การสำรวจโดยใช้วิธีนี้เป็นการเก็บข้อมูลที่ได้ข้อมูลจำนวนมาก ในบริเวณกว้างกว่าการสำรวจภาพสนาม จากการใช้เครื่องมือสำรวจระยะไกล โดยเครื่องมือสำรวจไม่จำเป็นที่ต้องสัมผัสกับวัตถุตัวอย่าง เช่น เครื่องบินสำรวจเพื่อถ่ายภาพในระยะไกล การใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรทำการเก็บข้อมูลพื้นผิวโลกในระยะไกล จากภาพเป็นการแสดงภาพถ่ายทางอากาศบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทำการซ้อนทับกับข้อมูลขอบเขตอาคารและการใช้ประโยชน์ของที่ดิน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลระยะไกลกับข้อมูลภาคสนามแล้วจะเห็นได้ว่า ข้อมูลจากการสำรวจระยะไกลจะให้รายละเอียดของข้อมูลน้อยกว่าการสำรวจภาคสนาม แต่จะให้ชอบเขตของการสำรวจที่กว้างกว่า และข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลที่ได้จากการเก็บตัวอย่างเพียงครั้งเดียว เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล มีองค์ประกอบที่จะต้องพิจารณาคือ
ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจระยะไกล ในที่นี้จะหมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการถ่ายภาพทางเครื่องบินในระดับต่ำ ที่เรียกว่า รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photo) และข้อมูลที่ได้จากการบันทึกภาพจากดาวเทียมในระดับสูงกว่า เรียกว่า ภาพถ่ายจากดาวเทียม (Satellite Image) องค์ประกอบที่สำคัญของการสำรวจข้อมูลระยะไกล คือ คลื่นแสง ซึ่งเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ว่าเป็นพลังงานที่ได้จากดวงอาทิตย์ หรือเป็นพลังงานจาก ตัวเอง ซึ่งระบบการสำรวจข้อมูลระยะไกลโดยอาศัยพลังงานแสงธรรมชาติ เรียกว่า Passive Remote Sensing ส่วนระบบบันทึกที่มีแหล่งพลังงานที่สร้างขึ้นและส่งไปยัง วัตถุเป้าหมาย เรียกว่า Active Remote Sensing เช่น ระบบเรดาร์ เป็นต้น |
เว็บไซต์ความรู้การสำรวจระยะไกล USGS:Remote Sensing Technology สำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ NASA:Landsat Sicence กรมอุตุนิยมวิทยา GISDA TOPO |
![]() สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
ได้ให้ความหมายไว้ว่า คำนิยามของ "การสำรวจจากระยะไกล หรือ รีโมตเซนซิง" นั้น หมายถึง ขบวนการที่เป็นทั้งศิลป์และศาสตร์ ในการทำให้ได้มาซึ่งข้อมูล และข่าวสารเกี่ยวกับวัตถุ หรือเหตุการณ์ที่อยู่ในระยะไกลออกไป จากเครื่องมือบันทึกข้อมูล โดยปราศจากการสัมผัสโดยตรง ระหว่างเครื่องมือบันทึกข้อมูลกับวัตถุ หรือเหตุการณ์นั้นๆ การที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูล และข่าวสารดังกล่าวแล้ว จะต้องใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์หลายอย่างประกอบกันเข้า เพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเครื่องมือ หรืออุปกรณ์เหล่านั้น ได้แก่ เครื่องบันทึกข้อมูล (sensors) กรรมวิธีข้อมูล (data processing) วิธีการ และกรรมวิธีสนเทศ การสื่อสาร อากาศยาน และยานอวกาศ ที่เหมาะสม รวมไปถึงระบบการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจากอากาศยา นและยานอวกาศ เป็นอาทิ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้รวมกันเข้าเป็นวิธีการของ เทคโนโลยีการสำรวจทรัพยากรจากระยะไกลด้วยดาวเทียม หลักการทำงานอย่างย่อๆ ของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร คือ การสำรวจข้อมูลทรัพยากรจากระยะไกล ทำได้โดยอาศัยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศรอบตัวเรา สำหรับเป็นพาหะในการสื่อข่าวสารเกี่ยวกับทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งทรัพยากรการเกษตรที่เราสนใจด้วย วัตถุทุกอย่างในโลกมีคุณสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้าต่างกัน เมื่อนำเครื่องมือบันทึกข้อมูลขึ้นไปกับดาวเทียม เครื่องมือนั้นจะทำการบันทึกข้อมูล ซึ่งบอกถึงลักษณะต่างๆ ของวัตถุ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้ ข้อมูลเบื้องต้นที่ได้มาอาจอยู่ในลักษณะตัวเลข ซึ่งบันทึกไว้ในจานแม่เหล็ก หรือในรูปของภาพถ่าย ซึ่งยังถือว่า เป็นข้อมูลดิบอยู่ จะต้องนำไปวิเคราะห์ให้ได้รายละเอียดของข่าวสาร (สนเทศ) อย่างถูกต้องก่อน ซึ่งทำได้ ๒ วิธี คือ การวิเคราะห์ด้วยสายตา และการวิเคราะห์โดยใช้คอมพิวเตอร์ ผลจากการวิเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม จะแสดงถึงลักษณะที่แท้จริงของพื้นที่ หรือของบริเวณที่ทำการศึกษา และผลจากการศึกษานี้ โดยมากจะอยู่ในลักษณะแผนที่การจำแนกประเภทการใช้ที่ดิน หรือแผนที่แยกประเภททรัพยากรต่างๆ |
บล็อคความรู้
การสำรวจระยะไกล เรียนรู้รีโมทเซนซิง รีโมทเซนซิง การสำรวจระยะไกล I LOVE GIS เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล การสำรวจข้อมูลระยะไกล การรับรู้จากระยะไกล follow us Twitter: zaisarah นางสาว กรรณิการ์ มีสุวรรณ์ 56170266 กลุ่ม 4 คณะภูมิสารสรเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ที่มา http://www.gisthai.org/about-gis/remote-sensing.html
http://yingpew103.wordpress.com/2013/01/18/
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=16&chap=9&page=t16-9-infodetail03.html